นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)
คำนิยามอาชีพ
R&D ย่อมาจากคำว่า Research & Development แปลว่า การวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละหน่วยงานจะนำไปใช้ในการสื่อความหมายอย่างไร ทุกธุรกิจต่างก็มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง ดังนั้นบางครั้งความหมายในรูปแบบของการวิจัยและพัฒนาอาจเรียกได้ว่าเป็น R&D of Products คือ มุ่งเน้นไปที่การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพ (Quality) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ของตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ หรือบางครั้งอาจจะทำให้เป็นผู้นำตลาดใหม่ได้อีกด้วย
ซึ่งโดยความหมายของการวิจัยและพัฒนา คือ การศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งดังกล่าวเป็นอย่างดี และนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาใช้ให้เกิดการปรับปรุงหรือพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างสิ่งใหม่ (Innovation) ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ จะเห็นว่าเมื่อทำการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีขึ้น เราก็อาจค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างไม่คาดคิด จากปรัชญาของการพัฒนาที่ว่า “ทุกๆ อย่างสามารถพัฒนาและปรับปรุงต่อไปได้อีก” จึงต้องใช้ R&D of Products เป็นเครื่องมือเชิงรุกในการแข่งขันทางธุรกิจ
ลักษณะการทำงาน
เป็นนักวิจัยอยู่ในห้องLap วิเคราะห์ ตรวจสอบ องค์ประกอบ และคุณภาพ ของอาหาร ด้วยเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อความปลอดภัยในการผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมเพื่อการ หรือการเอาวิชาความรู้ที่เรียนทั้งหมดมาใช้ เพราะต้องออกแบบตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการแปรรูป ภาชนะบรรจุที่ใช้ โดยทุกอย่างต้องตรวจสอบด้วยว่าถูกต้องตามกฎหมายอาหาร และเมื่อมั่นใจแล้วผลงานก็จะถ่ายทอดสิ่งที่ออกแบบไว้นี้ให้แก่ฝ่ายผลิตต่อไป
แผนก R&D จะทำการวิจัยและพัฒนาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เพื่อค้นคว้านวัตกรรมของสินค้าใหม่ๆ โดยฝ่ายขายจะนำเสนอข้อมูลสินค้านวัตกรรมหรือวัตถุดิบใหม่จากการไปสำรวจตลาดและคาดว่าจะได้รับผลตอบรับที่ดี และนำมาให้แผนก R&D ทำการวิจัยและพัฒนาสินค้า เพื่อเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ลูกค้าและสร้างเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของบริษัทฯ โดยวัตถุดิบและสินค้านวัตกรรมใหม่นั้น นอกเหนือจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเสนอลูกค้าให้กับบริษัทฯ แล้วนั้น ยังอาจช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิตหรือมีคุณสมบัติทางเคมีที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น หรือทดแทนวัตถุดิบเดิมด้วยต้นทุนการผลิตที่ลดลงแต่คงคุณภาพและคุณสมบัติของสินค้าเช่นเดิม ทั้งนี้ แผนก R&D จะสรรหานวัตกรรมของวัตถุดิบใหม่ๆ จากช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ค้นพบด้วยตนเองหรือผ่านผู้จัดจำหน่าย (Supplier) ที่เข้ามานำเสนอสินค้า
ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเพื่อทำตัวอย่างเสนอลูกค้า
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
งานฝ่ายขาย (Sale)
ประกันคุณภาพ (QA)
งานฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC)
กำกับดูแล (Regulatory
Affair)
งานฝ่ายผลิต (Production)
งานจัดซื้อเสาะหาวัตถุดิบ (sourcing)
ประจำห้องปฏิบัติการ (Laboratory)
เข้าใจง่ายมากค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ
ตอบลบ